Entry นี้ผมได้เขียนไว้ตั้งแต่ช่วงก่อนมีการชุมนุมของคนเสื้อแดงในช่วงที่ผ่านมา ถึงตอนนี้ก็รู้สึกว่าอยากเอามานำเสนออีกครั้ง เนื่องจากเห็นว่าเป็นประเด็นที่ยังซ่อนเร้นอยู่ภายใต้ความขัดแย้งของสังคมในปัจจุบัน

“…ประเทศไทยสงสัยยังไม่พร้อมเป็นประชาธิปไตยง่ายๆ ที่กระทบที่สุดน่าจะเป็นวงการการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์แห่งการ บริการ

การมีชั้นวรรณะเล็กน้อยเป็นประโยชน์ต่อระบบการฝากเข้าเรียนและ ทำงานในที่ต่างๆ รวมทั้งการจัดการเวลามีปัญหากับตำรวจ

แม้แต่การไปพบแพทย์ โรงพยาบาลรัฐชื่อดังยังมี “โควต้าลัดคิว” ให้ญาติสนิทมิตรสหายถึง 15% เราเคยชินกับการดิ้นรนแบบนี้

อีกอย่างก็คือ ผมว่าคนไทยไม่อาจยืนอยู่ได้ด้วย “ความไม่มีที่พึ่งพิงหรือยึดเหนี่ยวจิตใจ” เพราะมันหนาวเกินไป นี่น่าจะเป็นปัญหาลึกๆตั้งแต่โบราณ

ระบบ SOTUS (น้องเคารพพี่), ความกตัญญู (บุญคุณต้องทดแทน),และประชาธิปไตย เราเรียนมาทุกอย่าง แต่ไม่ได้เรียนในการตัดสินความขัดแย้งของ มัน…

นี่เป็นข้อความที่ผม quote มาจากส่วนหนึ่งของข้อความบน twitter ที่เพื่อนผมเขียนในคืนวันหนึ่ง
ผมเองก็คิดเกี่ยวกับเรื่องนี้มานาน พอสมควร และก็เห็นจริงตามที่เพื่อนผมคนนี้ได้เขียนไว้

จาก ประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ชีวิตในต่างแดนนานหลายปี ได้พบปะผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติ ทำให้ผมได้ค้นพบว่า วัฒนธรรมไทยนั้นน่าชื่นชมกว่าชาติใดๆในโลก ซึ่งเรื่องนี้เมื่อต่างชาติมองเข้ามาเค้าก็ชื่นชม

หาก แต่คนไทยไม่ค่อยที่จะรู้ตัวและชื่นชมในความเป็นไทย มักจะเห็นชาติอื่นดีกว่าตัวอยู่เสมอ เวลารับวัฒนธรรมจากชาติอื่นเข้ามา ก็รับมาด้วยความรู้สึกชื่นชมว่าของเค้าดีกว่าโดยที่ไม่ได้คิดที่จะประยุกต์ ให้มันเข้ากับของเดิมที่เรามีอยู่ เป็นเรื่องน่าเสียดาย

ระบบ อุปถัมภ์ และ SOTUS ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง

ข้อดีคือทำให้คนในสังคมได้พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีความเคารพซึ่งกันและกัน มีความเครียดน้อยลง
ข้อเสียคือเมื่อมีความเกรงใจและเคารพกันตาม อาวุโสจนมากเกินพอดี ทำให้การพัฒนาสิ่งที่ดีกว่าที่มันควรจะเกิดขึ้นได้นั้น “ไม่เกิด”

ในแง่หนึ่งมันเป็นเสน่ห์ของวัฒนธรรมแบบเอเซีย ชาติอื่นๆเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เค้าก็มีระบบนี้ในสังคมอย่างแข็งแรงเช่นกัน (โดยเฉพาะชาวเกาหลี จากเท่าที่ผมเคยได้สัมผัสมา) หากนำระบบอุปภัมถ์และ SOTUS นี้มาใช้ให้ถูกทางในโลกปัจจุบัน จะช่วยทำให้ชาติแข็งแรง เป็นปึกแผ่น ที่สำคัญคือ “อย่ามองเห็นของนำเข้าดีกว่าของในประเทศ” เราควรมองว่าจะทำอย่างไรให้ของที่เรานำเข้ามานั้น ปรับปรุงเข้าให้ใช้ได้กับวัฒนธรรมเดิมๆที่เรามีอยู่ ระบอบประชาธิปไตย ก็เป็นของนำเข้าอย่างหนึ่งที่เรารับมาจากชาติตะวันตก

การรับอะไรก็แล้วแต่จากต่างชาติเข้ามาใช้ใน สังคมแบบตรงๆ โดยไม่เข้าใจแก่นแท้ของมันแล้ว สุดท้ายก็จะก่อให้เกิดปัญหา

ขอยกตัวอย่างลักษณะวัฒนธรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักอยู่อย่างเร่งรีบ ตัวใครตัวมัน แข็งกร้าว สังคมของเค้าไม่รู้จักคำว่า “เกรงใจ” (สมัยที่อยู่อเมริกา ผมเคยพยายามหาศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีความหมายตรงตัวกับคำว่า เกรงใจ ที่เราใช้ในภาษาไทย แต่หาไม่เจอ)

สังคมของเค้าไม่มีระบบอุปภัมถ์และไม่เคร่งกับระบบ SOTUS แต่นับถือคนที่ความสามารถและสิ่งที่เขา ทำ

ประชาธิปไตยที่พัฒนามาจากประเทศที่มี วัฒนธรรมตามครรลองดังกล่าว ย่อมไม่สามารถเข้ากันได้ดีกับสังคมไทย

ผมอยากเสนอให้เรา มองไปรอบๆตัว ประเทศที่เข้มแข็งในภูมิภาคของเราเช่นญี่ปุ่น หรือ เกาหลีใต้ ที่ผมยกตัวอย่างสองประเทศนี้เพราะเท่าที่ผมเคยได้สัมผัส คนของทั้งสองชาตินี้มีความศรัทธาและภูมิใจในความเป็นชาติของตนสูง ในสังคมมีระบบอุปภัมถ์คล้ายๆของเราและ SOTUS ที่เหนียวแน่น

ทั้งสองประเทศนี้ใช้การปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอย่างได้ผล เค้าทำได้อย่างไร? ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะกลับมามองตัวเองและถามตัวเองว่า ทำไมประชาธิปไตยในแบบของเราถึงได้เดินทางมายังจุดที่เป็นอยู่ทุกวันนี้?? หันมาช่วยกันคิดเพื่อเดินไปข้างหน้าร่วมกันดีกว่า หยุดแบ่งเขาแบ่งเราเถอะครับ

หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้นครั้งแรกที่ Bmaj7.multiply.com เมื่อ Oct 24, 2009