มือใหม่เลือกจักรยานปั่นออกกำลัง – Part 2 เลือกจักรยาน

เลือกจักรยาน

การเลือกจักรยานให้เหมาะสมกับตัวเรา นอกจากจะดูวัตถุประสงค์ในการเอาไปใช้งานแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือการเลือกขนาดเฟรมให้เหมาะกับตัวเราอีกด้วย

รู้จักชื่อและชิ้นส่วนจักรยาน

สำหรับมือใหม่หัดปั่นอย่างผม เจอศัพท์คำนู้นคำนี้ที่ใช้เรียกชิ้นส่วนจักรยานเข้าไปก็ถึงกับงงไปเลยเหมือน กัน ไม่รู้จะมีใครเป็นเหมือนผมหรือเปล่า ก็เลยเอาแผนภูมิรูปภาพมาแปะไว้ให้ดู เผื่อนึกไม่ออกว่าชิ้นไหนเรียกว่าอะไร

ชื่อเรียกชิ้นส่วนเฟรมจักรยาน
ชื่อเรียกชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเฟรมจักรยาน
อุปกรณ์จักรยาน
ชื่อเรียกชิ้นส่วนต่าง ๆ ของจักรยาน

ศัพท์ภาษาไทยที่ได้ยินบ่อยเมื่อเลือกขนาดจักรยานคือ ท่อนั่ง (Seat tube) และ ท่อนอน (Top tube) ในบล๊อคนี้ผมขอละเอาชื่อเรียกชิ้นส่วนที่เกี่ยวกับระบบเกียร์ออกไปนะครับ

วัสดุที่ใช้ทำเฟรมจักรยาน

เนื่องจากจักรยานได้รับการพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ทำให้วัสดุที่นำมาผลิตเฟรมจึงมีความหลากหลายตามไปด้วย วัสดุที่นำมาใช้แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันไปเพื่อให้ตอบสนองตามวัตถุประสงค์ของจักรยานแต่ละชนิด วัสดุที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่

Hi-Tensteel

เป็นวัสดุเกรดล่างสุดที่ใช้ทำจักรยานที่มีราคาถูก มีความแข็งแรงทนทาน แต่มีข้อเสียคือน้ำหนักมากและขึ้นสนิมได้

Aluminum Alloy

วัสดุเกรดดีที่ใช้ทำจักรยานราคาระดับปานกลาง ข้อดีคือมีน้ำหนักเบา แข็งแรง และไม่ขึ้นสนิม วิธีสังเกตว่าเฟรมจักรยานทำจาก Aluminum หรือเปล่าให้ดูที่จุดเชื่อมข้อต่อ รอยต่อจะมีขนาดใหญ่ไม่เนียนเรียบแม้จักรยานแพง ๆ บางรุ่นจะทำการขัดเก็บรอยต่อ แต่ก็ยังสามารถเห็นร่องรอยได้

Chromoly

วัสดุเกรดดีเหมือน Aluminum แต่มีความยืดหยุ่นมากกว่า บ้างก็ว่าให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่าเวลาขี่ ข้อเสียคือสามารถขึ้นสนิมได้ วิธีสังเกตเฟรมที่ทำจาก chromoly คือบริเวณรอยต่อจะเรียบเนียน ไม่เห็นร่องรอยการเชื่อมเป็นจุดใหญ่ ๆ เหมือน aluminum

Titanium

เป็นโลหะในกลุ่ม steel alloy เช่นเดียวกับ aluminum และ chromoly ถ้าเปรียบเทียบความแข็งกระด้างของรถจักรยานที่ทำจากวัสดุกลุ่มโลหะ 3 ชนิด ไล่ตามความกระด้างของโลหะ ได้แก่ 1. Aluminum 2. Titanium 3. Chromoly

Chromoly จะถือว่าเป็นโลหะที่นิ่มที่สุด และก็ตามมาด้วย Titanium และที่แข็งกระด้างที่สุดก็จะเป็น Aluminum แต่ถ้าจะมองถึงน้ำหนักของรถจักรยานที่เทียบปริมาตรโลหะที่เท่ากัน Aluminum ก็จะเบาที่สุดและตามมาที่ Titanium และ Chromoly ตามลำดับ
แต่ด้วยความ แข็งแรงต่อปริมาตรที่มากกว่าของ Titanium และ Chromoly จึงทำให้สามารถใช้เนื้อโลหะที่น้อยกว่า Aluminum ได้ จึงทำให้รถที่ทำจาก Titanium และ Chromoly สามารถทำให้มีน้ำหนักที่เบากว่า Aluminum ได้นั่นเอง (Chromolybdenum Steel Alloy MTB)

Carbon Fiber

วัสดุราคาแพงที่ใช้กับจักรยานเกรดดี มีน้ำหนักเบา

การเลือกจักรยาน

ขนาดของจักรยานเสือหมอบและเสือภูเขามีหน่วยวัดไม่เหมือนกัน วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับมือใหม่หัดปั่นคือเมื่อก้าวขาขึ้นคล่อมเฟรมจักรยานควรมีระยะห่างระหว่าง top tube และผู้ตัวขี่ประมาณ 1 นิ้ว (25mm) สำหรับจักรยานเสือหมอบ, 2-3 นิ้ว (50-75mm) สำหรับเสือภูเขา และ 1 นิ้วนิด ๆ (30-34mm) สำหรับจักรยานประเภท cyclo-cross

ขึ้นคร่อมจักรยาน

การปรับเบาะ

การปรับความสูงของเบาะจะช่วยให้

  1. นั่งบนเบาะจักรยานในท่าปั่นปรกติโดยไม่สวมรองเท้า ในขณะที่มีเพื่อนช่วยจับจักรยานไว้ให้เพื่อป้องกันล้ม
  2. ปรับบันไดลงด้านล่างให้อยู่ในตำแหน่งที่ก้านถีบ (crank arms) ขนานกับท่อนั่ง (seat tube)
  3. วางส้นเท้าบนบันไดและขยับเบาะขึ้นหรือลงจนขาเหยียดตรง ให้บันไดอยู่ในตำแหน่งต่ำที่สุดโดยที่ตำแหน่งของก้านถีบยังขนานกับท่อนั่ง เมื่ออยู่ในท่าปั่นปรกติโดยสวมรองเท้าจะทำให้หัวเข่างอเล็กน้อย
  4. ระวังอย่าให้ minimum insertion mark หลุดออกมาพ้นเฟรมจักรยาน – seatpost จะต้องเสียบอยู่ในเฟรมลึกอย่างน้อย 2.5 นิ้ว (64mm)

มือใหม่เลือกจักรยานปั่นออกกำลัง – Part 1 ชนิดของจักรยาน